วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รายการของใช้ของทารกช่วง 0-3 เดือน


หมวดเสื้อผ้า
  1. ผ้าอ้อมควรเลือกซื้อที่ขนาดใหญ่  30x30 นิ้ว เพื่อใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ทั้งห่อตัว, นุ่งแทนกางเกง แนะนำให้ซื้อที่เนื้อดีหน่อย จะเป็นเนื้อผ้าสำลีหรือผ้าสาลูก็ได้ เตรียมไว้สัก 1-3 โหล สำหรับคนที่ไม่อยากใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปก็ 3-4 โหล
  2. เสื้อผูกหลังหรือเสื้อป้ายผูกหน้า 4 - 6 ตัว (เสื้อผูกหลัง สำหรับคนอยากให้ลูกหัวสวยๆ ต้องนอนคว่ำ/เสื้อป้ายผูกหน้า เด็กนอนหงาย)
  3. กางเกงขาสั้น 4-6 ตัว (เด็ก 2-3 เดือนค่อยเริ่มใส่ก็ได้ เดือนแรกจะไม่ค่อยดิ้นมากใช้ผ้าอ้อมห่อขาจะได้ไม่โก้ง)
  4. เสื้อป้ายแขนยาวและกางเกงขายาว หรือ บอดี้สูท 3-6 ชุด ใส่นอนนอน กลางคืนใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องลูกฉี่
  5. ถุงมือและถุงเท้า อย่างละ 4-6 คู่ ป้องกันน้องเอาเล็บข่วนหน้า
  6. หมวกเด็กอ่อน 2-3 ใบ ไว้สลับใช้เวลาออกไปเดินเล่น หรืออากาศเย็น
  7. เสื้อผ้าไปเที่ยว ไม่จำเป็นต้องเตรียมมาก 1-2 ชุด เพราะเด็กยังเล็กมากไม่ควรออกไปท่องโลกกว้าง ยกเว้นไปหาหมอ
  8. ผ้าห่อตัวเด็กแรกเกิด 1 ผืน อันนี้ใช้วันออกจากโรงพยาบาล หรือไปหาหมอ แนะนำซื้อเป็นผ้าขนหนูผืนใหญ่ๆ จะดีกว่าเพราะใช้ประโยชน์ได้มากกว่า อีกอย่าง ตอนออกโรงพยาบาลคุณพยาบาลจะเป็นคนห่อตัวให้น้องซึ่งห่อได้สวยไม่หลุดลุ่ย
  9. ผ้ากันเปื้อน ไม่ต้องเตรียมจะใช้เมื่อน้องเริ่มทานอาหารเสริม หรือใช้ผ้าอ้อมผูกแทนก็ได้
  10. กางเกงผ้าอ้อมแบบซักได้ ใช้ก็ดีประหยัดกว่าแบบใช้แล้วทิ้งเตรียมไว้สัก 4-6 ตัว
  11. ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ซื้อแบบ new born ไม่ต้องมากดูที่ราคา ห่อเล็กลดราคาจะถูกกว่าห่อใหญ่ เมื่อหารเฉลี่ยต่อชิ้น
  12. ผ้าขนหนูผืนใหญ่สำหรับเช็ดตัวหลังอาบน้ำ 1-4 ผืน
  13. ผ้าขนหนูเช็ดตัวศีรษะ 2-3 ผืน อาจไม่จำเป็นใช้ฝืนใหญ่ฝืนเดียวก็ได้

หมวดการทำความสะอาด
  1. กะละมังอาบน้ำ ซื้อให้ให้ใหญ่ไว้ก่อนเพราะต้องใช้ไปจน จะพังกันไป (เด็กยิ่งโตยิ่งชอบเล่นน้ำ)
  2. ที่บอกอุณหภูมิน้ำ ไม่จำเป็นใช้หลังมือวัดแทนได้
  3. เก้าอี้สำหรับอาบน้ำ จำเป็นสำหรับมือใหม่ที่กลัวจะทำน้องหลุดมือ
  4. สบู่เหลวและแชมพู แบบขวดปั๊มสะดวกกว่า หรือซื้อแบบที่ใช้อาบน้ำและสระผมในขวดเดียวก็ได้
  5. ฟองน้ำสำหรับอาบน้ำ 1 ชิ้น เลือกที่ใหญ่หน่อย ใช้จุ่มน้ำแล้วบีบมาแตะตัวน้องก่อนลงน้ำ หรือสระผม
  6. หมวกกันแชมพู ไม่จำเป็น ถ้าเด็กโตที่นั่งเองได้อาจจะใช้ แต่ให้เขานอนบนตักแล้วสระให้ก็สะดวกกว่า
  7. โลชั่นหรือออยส์
  8. แป้งเด็ก ยี่ห้อยอดนิยมทั่วไป หรือแป้งเด็กสำหรับทารกแรกเกิด (ไม่ควรใช้ครั้งละมากๆ เดี๋ยวผิวแห้งลอกเป็นขุ่ย)
  9. สำลีก้านเล็ก สำหรับเช็ดรูหู
  10. สำลีผ่านการฆ่าเชื้อ สำหรับเช็ดตา และสะดือ ควรซื้อยี่ห้อที่ไม่มีสารเรืองแสง
  11. สำลีก้อนหรือแบบม้วนใหญ่นำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลื่ยม (1ห่อใหญ่) จุ้มน้ำอุ่นพอหมาดๆ สำหรับเช็ดก้นและอวัยวะเพศ เมื่อน้องขับถ่าย ใช้แทนกระดาษเช็ดก้น ซึ่งราคาแพง
  12. กระดาษเช็ดก้นเด็กแบบห่อหรือแบบกระป๋องก็ได้ 1 ห่อ ไม่ควรซื้อเยอะใช้เฉพาะเวลาออกนอกบ้านควรมีไว้
  13. กะละมังซักผ้าอ้อม ขนาดกลาง-ใหญ่ 2 ใบ แล้วแต่ความกว้างของลานซักผ้า
  14. กะละมังซักผ้าอ้อม เล็ก 1 ใบ ซักน้ำยาซักผ้า
  15. ถังขนาดกลางๆ 1 ใบ (3-5ลิตร) สำหรับแช่ผ้ารอยฉี่และผ้าเปื้อนอุจจาระน้อง (ควรล้างให้หมดก็แช่) ผ้าจะซักง่ายกว่าทิ้งให้แห้ง
  16. น้ำยาซักผ้าเด็ก ถ้ามีลดราคา ซื้อ 1 แถม 1 ให้ซื้อตุนไว้เลย
  17. น้ำยาปรับผ้านุ่มเด็ก
  18. น้ำยาล้างขวดนม
  19. แปรงล้างขวดนมและจุกนม แนะนำแบบเป็นไนล่อน ขนแปรงนุ่มไม่ทำให้ขวดเป็นรอยและทนกว่าแบบฟองน้ำ
  20. แปรงล้างไส้หลอด อันนี้เอาไว้ล้างพวกที่ดูดน้ำมูกน้อง
  21. ที่นึ่งขวดนม ถ้ามีงบก็ที่นึ่งขวดนมแบบอบแห้ง/ตระกร้าผึ่งขวดนม
  22. ราวตากผ้าอ้อม/ ห่วงมีไม้หนีบสำหรับตากผ้าอ้อม
  23. ถังขยะวางใกล้ที่นอน ควรซื้อแบบมีฝาปิดกันกลิ่น
  24. เบาะรองเปลี่ยนผ้าอ้อม อันนี้ใช้ผ้ายางปูแทนได้
  25. ผ้าก๊อซ ไว้ชุบน้ำอุ่นเช็ดปาก เช็ดเหงือก ใช้มุมผ้าอ้อมเช็ดแทนได้
  26. กระติกเก็บน้ำร้อน สำหรับผสมน้ำอุ่น เช็ดฟัน ตา หรือก้นน้อง ควรซื้อแบบอย่างดี ขนาด 1 ลิตรใบละ 200-300 บาท เก็บความร้อนได้นาน 6-8 ชม.
  27. กระปุกใส่สำลี และของกระจุกกระจิก
  28. ตระกร้าหหรือกล่องแบบแบบแบ่งเป็นช่องๆ ใส่ของ เช่น ที่ตัดเล็บ,สำสี, แซมบัค, มหาหิงค์ ของใช้ชิ้นเล็กๆ

หมวดที่นอน
  1. เตียงนอน อาจไม่จำเป็นถ้าลูกนอนบนฟูกเดียวกับคุณแม่ทำให้เวลานอนให้นมจะสะดวกกว่า ไม่ต้องลุกไปอุ้ม จะได้พักผ่อนเยอะๆ
  2. ฟูกนอน 2-3 ผืน ซักเมื่อเปื้อนหรือ 2-3 วันครั้ง
  3. เบาะนอน ถ้าซื้อเลือกแบบไม่นิ่มเกินไป น้องไม่จมบนฟูก
  4. ผ้าปูที่นอน ถ้าซื้อเบาะ
  5. ผ้าห่ม อาจใช้ผ้าห่อตัวหรือถุงนอนแทนได้
  6. ผ้ายางสักหลาดหรือผ้ายางรองฉี่ อันนี้เตรียมไว้มากหน่อยประมาณ 3-4 ผืน แนะนำให้ซื้อผืนใหญ่หน่อยเพราะน้องจะดิ้นแล้วทำให้เปื้อนได้ซื้อรุ่นแบบซักเครื่องได้ยิ่งดี
  7. เพล์ยิมหรือโมบาย แล้วแต่งบ ช่วงเดือนแรกน้องจะตื่นนอนหลับตลอด งบน้อยก็ใช้โมบายปลาตะเพียนได้
  8. มุ้งครอบ ควรมีหลังที่มีขนาดกลางๆ ไม่เล็กเกินไปจะได้ใช้ได้นานๆ
  9. เปลโยก/หรือใช้ผ้าผูกทำเปลไกวก็ได้
  10. หมอนหนุน
  11. หมอนข้าง เอาไว้กั้นตัวเด็กเวลานอนได้
  12. หมอนหลุมไม่จำเป็น
  13. หมอนปรับถ้านอน ช่วยให้น้องอยู่ในท่านอนตะแคง ศรีษะสวย 
  14. แผ่นรองคลาน ยังไม่ต้องซื้อ 
  15. เป้อุ้มเด็ก ไม่จำเป็น
  16. รถเข็นเด็ก แล้วแต่งบ
  17. คาร์ซีท อันนี้ของจำเป็นสำหรับคนมีรถยนต์ 


หมวดอุปกรณ์รับประทานอาหารและการให้นม
  1. ที่ปั๊มนม ควรซื้อยีห้อดีๆ ที่เลียนแบบการดูดนมของเจ้าตัวเล็ก ไม่ควรซื้อยี่ห้อที่ทำขวดนมจุกนมขายเพราะจะเสียเงินเปล่าเพราะมักทำให้ปั๊มนมไม่ออก จะได้ซื้อขวดนมจุกนมของบริษัท เลือกปั๊มแบบไหนดี แบบปั๊มมือสำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกอยู่บ้านแบบปั๊มไฟฟ้าสำหรับคุณแม่ทำงานนอกบ้าน
  2. แผ่นซับน้ำนม แนะนำแบบใช้แล้วทิ้ง เชื้อโรคจะได้ไม่หมักหมม ดีต่อสุขภาพ 
  3. ถุงเก็บน้ำนม ซื้อแบบซิปล๊อค ใช้สะดวก
  4. ปากกาเขียน CD เอาไว้เขียนถุงเก็บน้ำนม
  5. ขวดนม แบบสี่ออนซ์ 4 ขวด แปดออนซ์ 4 ขวด ถ้าแม่เลี้ยงลูกอยู่บ้านไม่จำเป็นต้องซื้อ
  6. ชุดป้อนยา แนะนำแบบที่เป็นจุกเหมือนขวดนม หรือใช้หลอดฉีดยาก็ได้
  7. กล่องโฟมใส่ขวดนม ไม่จำเป็น
  8. ชามบดอาหารแบบมือ ยังไม่ต้องซื้อ
  9. เครื่องบดอาหารแบบมือยังไม่ต้องซื้อ
  10. ที่แบ่งนม 3 ช่อง ไม่จำเป็น ถ้าใช้นมผงและเดินทางบ่อยซื้อไว้ก็ได้
  11. หมอนรองให้นม แล้วแต่งบ
  12. กระเป๋าเก็บอุณหภูมิ สำหรับปั๊มน้ำนมเก็บเมื่ออยู่นอกบ้าน แนะนำของร้านไดโซะ 60 บาท
  13. ครีมทาหัวนมแตก 

  • medela มีส่วนผสมของลาโนลิน 100 % ทาแล้วน้องสามารถดูดนมต่อได้เลย ไม่เป็นอันตรายกับเด็ก
  • บีแพนเทน ราคา 125 บาท ตัวนี้ทาผื่นผ้าอ้อมได้ด้วย แม่หลายๆคนว่าใช้ดี
  • *แต่ยารักษาหัวนมแตกที่ดีที่สุดคือน้ำนมแม่ เอาน้ำนมแม่ทาแล้วผึ่งให้แห้งค่อยใส่เสื้อใน


หมวดเบ็ดเตล็ด
  1. กรรไกรตัดเล็บ
  2. ที่ดูดน้ำมูก แบบเป็นลูกยาง/แบบเป็นสายดูด (ดูดได้สะอาดกว่า)
  3. ตะกร้าใส่ของ/เสื้อผ้าลูก วางข้างเตียงหยิบจับสะดวก
  4. กระเป๋าใส่ของใช้เด็ก เวลาไปหาหมอหรือออกนอกบ้าน
  5. ปรอทวัดไข้ แนะนำแบบดิจิตอลที่เป็นอินฟาเรดวัดไข้ทางหู หรือแบบแถบแปะหน้าฝาก
  6. เจลแปะลดไข้ ไม่แนะนำ ควรใช้วิธีเช็ดตัวลดไข้เพราะ เจลแปะลดใข้เป็อันตรายต่อทารก เภสัชกรที่ไปซื้อไปยอมขายบอกเด็กเล็กมากไม่ควรใช้ 
  7. มหาหิงส์
  8. ไกรป์วอเตอร์หรือ Air-x กันน้องท้องอืด
  9. วาสลีน
  10. ครีมทากันยุง มียี่ห้อ Chicco ของเด็กแรกเกิด 
  11. ขี้ผึ้งแซมบัค ทาแผลยุงกัดหรือฟกช้ำ ซื้อขนาดใหญ่สุดเพราะใช้จนโต
  12. ตู้เสื้อผ้าลูก ไม่จำเป็น
  13. ที่กันกะแทกมุมโต๊ะ ยังไม่จำเป็น
  14. ที่กั้นประตู ยังไม่จำเป็น
  15. ที่กันพัดลม ยังไม่จำเป็น

หมวดของใช้สำหรับคุณแม่
  1. เสื้อชั้นในให้นม อันนี้เตรียมไว้ซัก 4 ตัวก็พอ แล้วแต่ว่าจะใช้หรือไม่
  2. ผ้าคลุมปิดบังเวลาให้นม ไม่จำเป็น 
  3. ผ้าอนามัยแบบห่วง แนะนำยี่ห้อซอฟทิน่า หรือซื้อจาก รพ.ก็ได้ไม่ต้องไปหาซื้อ
  4. ผ้าอนามัยแถบกาว
  5. กระเป๋าน้ำร้อนแบบเติมน้ำร้อนหรือแบบไฟฟ้า ใช้ประคบเต้านมท้องและหลังคลายอาการเจ็บได้
  6. ผ้าถุง 2-3 ผืน ใส่สบายกว่ากางเกง สำหรับคนนุ่งไม่เก่งก็ใช้แบบเย็บยางยืด



เจาะน้ำคร่ำที่ ศิริราช


คลินิกเวชศาสตร์มารดาและทารก อาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีฯ ชั้น 6
คลีนิคในเวลาราชการ
เปิดวันจันทร์ - ศุกร์ 09.00 - 12.00 น.    หมายเลขโทรศัพท์ : 02419 4653-4
คลีนิคนอกเวลา เปิด
วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 16.00 - 20.00 น.
วันเสาร์ เวลา 07.00 - 12.00 น.
นัดหมายล่วงหน้า : วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 07.00 - 20.00
หมายเลขโทรศัพท์ : 0 2419 4653 - 4 , 0 2419 7009, 7193, 8339, 9148
ขั้นตอนปฎิบัติ
  1. นับอายุครรภ์ ทางคลีกจะตรวจให้เมื่ออายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ ควรนับก่อนโทรนัด ใช้บริการที่  http://www.freekrub.com/?page_id=15
  2. โทรสอบถาม เพื่อนัดหมาย โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการตรวจคลีนิคนอกเวลา ควรโทรหลังบ่าย 2 ครึ่ง (เจ้าหน้าที่แนะนำมา)
  3. ติดต่อทำบัตรที่ห้องบัตรชั้น 1 สำหรับคนไข้ใหม่/ผู้มีบัตรแล้วข้ามไปข้อ 4
  4. ไปที่ตึกอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีฯ ชั้น 6 ห้องคลินิกเวชศาสตร์มารดาและทารก ยืนบัตร ร.พ.พร้อมสมุดฝากครรภ์  ที่เคาเตอร์
  5. กรอกประวัติ เซ็นเอกสารยินยอมเจาะน้ำคร่ำ
  6. ชมวิดีโอเกี่ยวกับการเจาะน้ำคร่ำ
  7. พบหมอเพื่อตรวจอัลตร้าซาวด์ คุณหมอจะตรวจอย่างละเอียด ดูอวัยวะครบหรือไม่ ดูเพศ ใช้เวลา 10-20 นาที
  8. การเจาะน้ำคร่ำ คุณหมอจะเตรียมอุปกรณ์และทำการเจาะ โดยทาทิงเจอร์ฯ ที่หน้าท้อง ตามด้วยเจล พยาบาลจะถามว่าปิดตาไหม เราไม่ปิดใช้วิธีมองเพดานแทน ตอนคุณหมอใช้เข็มเจาะ คุณแม่อาจมีอาการจุกแน่น หน่วงๆ แต่ไม่เจ็บ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาชาเพราะถ้าฉีดยาชาก็เจ็บตอนฉีดยาเหมือนกัน  หลังได้น้ำคร่ำครบตามปริมาณ พยาบาลจะน้ำหลอดเก็บตัวอย่างมาใช้ดูเพื่อยืนยันว่าชื่อถูกต้องก่อนส่งตรวจ คุณหมอจะอัลตร้าซาวด์อีกรอบก่อนคุณแม่ลุกจากเตียงไปนอนพัก
  9. นอนพักหลังเจาะน้ำคร่ำประมาณ 20-30 นาที
  10. ตรวจอัลตร้าซาวด์อีกครั้งเพื่อดูว่าทารกในครรภ์ปกติดี คุณหมอจะให้ดูจนแน่ใจว่าปลอดภัย
  11. ออกมารอเรียก เพื่อรับใบนัดฟังผลตรวจ ถ้าให้ส่งผลทางไปรษณีย์ก็แจ้งตอนนี้ (ไม่แน่ใจเพราะเรามาฟังผลเองเลยไม่ได้ถาม)
  12. ชำระเงินที่ฝ่ายการเงินที่กำหนด (ไม่แน่นอนพยาบาลบอกตึกผู้ป่วยนอกพอไปจ่าย ต้องกลับไปตึกสมเด็จพระศรีฯ ชั้น 1)
  13. กลับบ้านได้ควรงดกิจกรรมที่ออกแรง ยกของหนัก เดินเป็นเวลานานๆ 1-2 วัน
  14. ผลจะออก ใน 2-3 สัปดาห์ควรโทรเช็คผลตรวจก่อนไปคลีนิค
  15. ฟังผลตรวจ ไปที่คลีนิคได้เลย ยืนบัตรที่เคาเตอร์ รอพบคุณหมอ  คุยกับหมอประมาณ 2-3 นาที (ลูกเราปกติเลยไม่ต้องคุยนาน) ค่าบริการฟังผลตวรจ 300 บาท
  16. กลับบ้านได้
ข้อดีของคลีนิคนอกเวลา
  1. คนน้อยไม่ต้องรีบไปคลีนิค
  2. อุ่นใจแทบทุกขั้นตอนสามีหรือญาติอยู่เป็นเพื่อนได้ตลอด โดยเฉพาะตอนนอนพัก ถ้าสามีไม่ตามเข้าไปพยาบาลจะไปตามมาให้ มีตอนเจาะน้ำคร่ำที่สามีต้องออกไปรอข้างนอก
  3. หมอที่ทำการเจาะจะเป็นอาจารย์หมอทั้งหมด ถ้าคลีนิคในเวลาจะเป็นหมอเวรแล้วแต่ว่าจะไปตรวจกับใคร เลือกหมอไม่ได้
ข้อเสียของคลีนิคนอกเวลา ค่าใช้จ่ายสูงกว่า คลีนิคในเวลาค่าใช้จ่าย 4,000 บาท นอกเวลา 5,000 บาท

          ที่ รพ. จุฬา และรามาฯ ต้องไปตรวจก่อน 1 ครั้ง ถึงจะนัดเจาะน้ำคร่ำได้ คิวยาวมากๆ แถมยังต้องไปรีบไปแย่งบัตรคิวตั้งแต่ก่อน 6 โมงเช้าไม่นั้นกว่าจะได้ตรวจอาจเลยเที่ยง