วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

จัดการวายร้ายให้อยู่หมัด

จัดการจอม “วายร้าย”ให้อยู่หมัด (M&C แม่และเด็ก)


           หากลูกร้อง ลงไปนอนดิ้น ๆ กับพื้น คุณแม่ยอมเพราะเหตุผลอะไรก็ตามแต่ เด็กก็จะเรียนรู้แล้วว่าถ้าแม่ไม่ให้ ต้องลงไปนอนดิ้นเดี๋ยวก็ได้เอง คราวหน้าเค้าก็จะทำแบบเดิมอีก แต่ถ้าแม่ทำโทษเค้าด้วยการตีอย่างรุนแรงนั้น ถือเป็นการตอบสนองที่ไม่เหมาะสม

           ฮือ ๆๆ หนูไม่ยอม คุณแม่ทั้งหลายคงคุ้นเคย หรืออาจจะชาชินกับอาการกรีดร้อง โวยวายได้ทุกเรื่องทุกเวลาเมื่อเจ้าหนูไม่พอใจ เด็กวัย 2 ขวบ ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นจอมวายร้าย จอมต่อต้าน บอกอย่างทำอย่าง เขาจะยึดตัวเองเป็นหลัก ไม่ยอมใครหน้าไหน จนคุณแม่ ๆ ต้องยอมอ่อนให้เจ้าตัวน้อยทุกทีไป

           ถึงแม้ว่าการยอมเขาจะทำให้เสียงกรีดร้องนั้นเงียบลงได้ คุณแม่ไม่เหนื่อย แต่รู้ไหมว่า การตามใจหนูโดยไร้เหตุผลจะทำให้หนูทำพฤติกรรมที่ไม่ดีซ้ำ ๆ ส่งผลให้ลูกเป็นเด็กเอาแต่ใจ เกเร และก้าวร้าวได้ ทางที่ดีมาตัดไฟตั้งแต่ต้นลม หล่อหลอมให้เจ้าหนูเป็นเด็กที่น่ารัก คุณแม่ก็สบายใจด้วยดีกว่าไหมค่ะ

สอนลูกในวัย จอมวายร้าย

           ต้องมีความมั่นคงในการสอนลูก พ่อและแม่ ต้องสอนลูกไปในทิศทางเดียวกันถ้าอะไรที่ตกลงกันไว้ว่าทำได้ก็ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้และสอนลูกไปในทิศทางเดียวกัน ห้ามใจอ่อน เช่นแม่ห้ามไม่ให้เล่นกรรไกร แต่พ่อสงสารลูก เห็นลูกร้องก็หยิบกรรไกรมาให้เล่น ผลเสียคือ เด็กจะไม่เกิดการเรียนรู้อะไร และอาจเป็นอันตราย

           ดังนั้นถ้าเด็กค่อย ๆ เรียนรู้สิ่งที่ต้องห้าม ต่อไปเค้าก็จะเข้าใจ เขาก็จะไม่ทำสิ่งเหล่านั้น เช่น เด็กวีนแม่ที่ไม่ให้เขาเล่นกรรไกร ลงไปนอนดิ้นกับพื้นแล้วร้องจะเล่นให้ได้ ถ้าแม่ยอมให้เค้าเล่น เค้าก็จำได้ว่าใช้วิธีลงไปวีนแบบนี้แล้วก็ได้ เขาก็เอาชนะทุกครั้งไป แต่ว่าถ้าเราไม่ให้ เวลาอยากได้ เขาลงไปดิ้นสัก 3- 4 รอบเขาก็จำได้ว่าไม่มีประโยชน์

           กติกาต้องมาก่อน การตั้งกติกาสามารถช่วยให้จัดการปัญหาง่ายขึ้น อย่างเช่นวันนี้ตกลงกันว่าจะไปเที่ยวที่นี่กันนะ เวลาไปหนูจะไม่ร้อง จะไม่เอานู่นนี่นะ การทำข้อตกลงกันนั้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโวยวายขึ้น เด็กก็จะเข้าใจ แต่พอเวลาไปถึงจริง ๆ แล้วเด็กเกิดไม่ทำตามกติกา อาละวาดจะเอาอย่างเดียว ลงไปนอนดิ้นกับพื้น กรีดร้อง คุณแม่ก็ควรปล่อยให้เขาดิ้นไป อย่าไปยอมตามใจเค้า ปล่อยให้เขาลงไปนอนดิ้นสักชั่วโมงให้เค้าเหนื่อยเค้าก็เงียบเอง หากเป็นแบบนี้สัก 3-4 ครั้งคราวหน้าคราวหลังเค้าก็จะไม่ทำอีก เพราะเขาเรียนรู้ว่าทำไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

           ในขณะเดียวกันหากลูกร้อง ลงไปนอนดิ้น ๆ กับพื้น คุณแม่ยอมเพราะเหตุผลอะไรก็ตามแต่ เด็กก็จะเรียนรู้แล้วว่าถ้าแม่ไม่ให้ต้องลงไปนอนดิ้นเดี๋ยวก็ได้เอง คราวหน้าเค้าก็จะทำแบบเดิมอีก แต่ถ้าแม่ทำโทษเค้า ด้วยการตีอย่างรุนแรงนั้นถือเป็นการตอบสนองที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นแล้วมาเรียนรู้การทำโทษที่เหมาะสมดีกว่าค่ะ

ทำโทษด้วยเหตุผล

           การทำโทษเด็กเล็ก ๆ นั้น สามารถทำได้ ในบางกรณีต้องมีการลงโทษเพื่อฝึกระเบียบวินัยให้ลูกน้อย และให้เขาเรียนรู้ว่าสิ่งไหนควรทำได้ สิ่งไหนห้ามทำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการทำโทษจะต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ไม่ใช่ใช้อารมณ์เป็นตัวตัดสินการลงโทษลูกน้อย ซึ่งหลักในการการทำโทษมีดังนี้

           ต้องเป็นวิธีที่ไม่รุนแรง ไม่ใช้วิธีที่ทำให้ลูกเจ็บ หรือกลัว แต่การลงโทษต้องทำให้เขารู้ว่าอันนี้คือสิ่งที่ไม่ถูกต้องนะ ถ้าหนูทำแบบนี้แม่จะต้องลงโทษหนูนะ การลงโทษที่ไม่รุนแรงได้แก่

           การจำกัดสถานที่ อาจจะให้เขาอยู่แต่ในห้อง ห้ามออกไปจากห้องจนกว่าจะได้รับอนุญาต

           กำจัดของที่เขาจะต้องเล่นต้องใช้ เช่น ไม่ให้เล่นของเล่นนี้ 1 วัน หรือจนกว่าแม่จะพอใจ

            งดค่าขนม หรือหักค่าขนม อาจจะแลกด้วยงานบางอย่างแทน เช่น ทำงานบ้าน หรือช่วยเก็บของ เหล่านี้เป็นต้น

           ต้องทำโทษในสิ่งที่ลูกทำผิด ไม่ใช่ลูกไม่รู้ บางอย่างเด็กจะทำโดยไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น ทำแก้วแตก ทำน้ำหก กรณีแบบนี้ถือเป็นเรื่องสุดวิสัย คุณแม่ไม่ควรทำโทษลูก แต่ควรตักเตือนเค้าให้รู้จักระมัดระวัง

           ในทุกครั้งที่ลงโทษต้องบอกเหตุผล ถึงแม้เด็กจะไม่เข้าใจเหตุผล แต่เขาก็รู้ว่าที่เขาทำแบบนี้พ่อแม่ไม่ชอบนะ แล้วก็จะต้องถูกลงโทษแบบนี้ การลงโทษด้วยความรุนแรงจะทำให้เด็กจำพฤติกรรมนี้ คงเป็นไปไม่ได้ที่ไม่อยากให้ลูกกระทำรุนแรง เช่น ไม่อยากให้ลูกตีเด็กคนอื่น แต่แม่กลับลงโทษด้วยการตีลูกแทน อย่างนี้ก็ย่อมไม่มีทางสำเร็จได้แน่

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

สิ่งควรทราบขณะรอคลอด

การปฎิบัติตัวขณะรอคลอด
     ระหว่างรอคลอด อาการเจ็บครรภ์ยังคงมีอยู่จนกว่ากระบวนการการคลอดจะสิ้นสุด เมื่อปากมดลูกเปิดมากขึ้นอาการเจ็บครรภ์ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
     ขณะรอคลอด คุณแม่ควรนอนพักผ่อนบนเตียงแทนการลุกเดินไปมา เพราะอาจจะเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น ถุงน้ำคร่ำแตกขณะเดิน หรือสายสะดือผลัดต่ำเป็นสาเหตุให้ทารกเสียชีวิตได้
ท่านอนที่ดีที่สุด คือนอนตะแคงซ้าย
เพราะหัวใจเต้นสะดวกและอาหารจากกระเพาะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ลดเสียงกรนได้ ลดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน
     เว็บไซต์เดลิเมลของอังกฤษรายงานว่า มีการศึกษาจากผู้หญิงมากกว่า 450 คน รวมไปถึงผู้หญิงอีก 155 คนที่ต้องสูญเสียลูกจากการคลอด พบว่า การนอนตะแคงขวา หรือนอนหลังตรงนั้น มีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงลูกเสียชีวิตในครรภ์อย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงสามเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับการนอนด้วยท่าตะแคงซ้ายอีกด้วย

การคลอดโดยปกติมักจะเกิดช่วงระหว่างอายุครรภ์ครบกำหนด (38 สัปดาห์ขึ้นไป)

อาการเจ็บครรภ์
     อาการเจ็บครรภ์เป็นอาการทางกายที่สำคัญที่สุดในกระบวนการการคลอด เกิดจากมดลูกหดตัวเพื่อทำให้ปากมดลูกเปิด เพื่อให้ทารกสามารถผ่าช่องปากมดลูกมาได้
     ภาวะที่มดลูกหดตัวแต่ละครั้ง คุณแม่จะรู้สึกถึงอาการเจ็บครรภ์มากหรือน้่อยแล้วแต่ความแรงของการหดตัวสลับกับการคลายตัว ทำให้รู้เป็นๆ หายๆ

"น้ำเดิน ไม่ใช่ สัญญาณการคลอด แต่เป็นภาวะที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล"

วิธีบรรเทาอาการเจ็บครรภ์

วิธีที่ 1 การหายใจลดอาการเจ็บครรภ์
ระหว่างที่มดลูกหดตัว รู้สึกเจ็บครรภ์ ให้
***หายใจเข้าทางจมูกช้าๆ และนานที่สุดเท่าที่ทำได้
***หายใจออกทางปากช้าๆ ค่อยๆผ่อนลมหายใจ ให้นานที่สุดเท่าที่ทำได้
วิธีนี้จะทำให้คุณแม่รู้สึกสบายขึ้น ทารกในครรภ์ก็จะได้รับออกซิเจนมากขึ้นด้วย
     การร้องเมื่อมีการเจ็บท้อง จะทำให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน เพราะการหดตัวของมดลูกทำให้ได้รับออกซิเจนลดลง การฝึกหายใจให้ถูกวิธีทำให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนมาขึ้น

วิธีที่ 2 การลูบหน้าท้่องขณะเจ็บครรภ์
ใช้ฝ่ามือลูบหน้าท้องวนเป็นวงกลมช้าๆ ร่วมกับการหายใจตามวิธีที่ 1 จะทำให้คุณแม่รู้สึกสบายขึ้น

ข้อมูลจากเอกสารแผ่นพับ ร.พ. เลิดสิน

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เตรียมกระเป๋าไปคลอดกันเถอะ

     สำหรับคุณแม่มือใหม่อะไรๆ ก็ดูจะต้องเตรียมตัวกันมากหน่อย เดี๋ยวไม่ครบ ครั้นจะไหว้วานคุณพ่อบ้านก็กลัวว่าจะไม่ถูกใจ พอเข้าสัปดาห์ที่ 32 คุณแม่ก็เริ่มอุ้ยอ้ายเดินเหินไม่สะดวกแล้ว ควรเตียมกระเป๋าสำหรับเตรียมตัวไปคลอดเผื่อฉุกละหุกจะได้ไม่ลืมของใช้และเอกสารสำคัญ สิ่งของที่ควรเตรียม


เอกสาร
  1. บันทึกการฝากครรภ์
  2. บัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวของโรงพยาบาล
  3. สำเนาบัตรประชาชน คุณพ่อและคุณแม่
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน
ของใช้สำหรับคุณแม่
  1. ผ้าขนหนูสีเข้ม สำหรับซับเลือดหรือน้ำคร่ำ ขณะที่เดินทางไปโรงพยาบาล
  2. ผ้าขนหนูสำหรับเช็ดตัว 1-2 ผืน
  3. ผ้าอนามัยแบบห่วง ส่วนใหญ่มีขายที่แผนกสูตินรีเวช 
  4. ชุดกลับบ้าน เสื้อหรือชุดคลุม ควรเป็นแบบเปิดให้นมได้ กางเกงแบบหลวมๆ ใส่สบาย
  5. ยกทรงแบบเปิดให้นม กางเกงใน
  6. แผ่นซับน้ำนม 1-2 แผ่น ใส่ตอนกลับบ้าน
  7. หมอน สำหรับรองให้นม ให้หมอนหนุนตัวไปหรือหมอนอิงก็ได้คะ ถ้ามีงบจัดหมอนแบบรองให้นมก็ได้ (ใบละ 2 พันแพงเอาเรื่องอยู่)
  8. ถุงเท้าสำหรับคนที่ขี้หนาว เผื่อไว้ถ้านอนห้องแอร์
  9. เครื่องดื่มชงสำเร็จ เช่น น้ำขิง (ช่วยให้น้ำนมเยอะ) โอวันติล
  10. ของใช้ส่วนตัว 
  • สบู่ หรือสบู่เหลว
  • โฟมล้างหน้า
  • แชมพู ครีมนวด 
  • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น
  • แปรงสีฟัน ยาสีฟัน
  • หมวกคลุมอาบน้ำ สำหรับคนผมยาว
  • หวี
  • ครีมบำรุงผิว/เครื่องสำอางค์สำหรับคนห่วงสวย
ของใช้สำหรับคุณลูก
  1. ผ้าอ้อมสำเร็จรูป แบบ นิวบอนด์ ส่วนใหญ่จะมีแจก ถ้าซื้อห่อใหญ่เตรียมไว้ก็หยิบไปเผื่อไว้ก็ได้จ๊ะ
  2. ผ้าอ้อมผ้า หรือผ้าเช็ดตัวผืนเล็ก สำหรับใช้ตอนกลับบ้าน
  3. ชุดเก่ง ใส่กลับบ้าน
  4. ผ้าห่อตัว สำหรับกลับบ้าน หรือผ้าขนหนูผืนใหญ่ก็ใช้แทนกันได้
  5. ถุงมือ สัก 3-6 คู่ใช้ที่โรงพยาบาล ป้องกันน้องเอาเล็บข่วนหน้า
  6. ถุงเท้า 3-6 คู่ โดยเฉพาะนอนห้องแอร์ (ตามตำราว่าไว้หัวเย็น-เท้าอุ่น)
  7. ที่ตัดเล็บ เผื่อน้องเล็บยาว แต่ตัดระวังๆ หน่อยน๊า
  8. สบู่เหลว เลือกแบบใช้สระผมได้ด้วยจะดีมากๆ
  9. ฟองน้ำ สำหรับอาบน้ำเจ้าตัวเล็ก
  10. ผ้าขนหนูผืนใหญ่สำหรับเช็ดตัวและห่อตัวหลังอาบน้ำ
  11. แปรงเด็ก ใช้ทาป้องกันความอับชื้น
  12. มหาหิงค์ ทาแก้ท้องอืด
  13. ที่ปั๊มนม รพ. บางที่จะมีให้ยืมใช้ แต่ถ้ามีเตรียมไปเผื่อกระตุ้นน้ำนมก็ดีคะ
ของใช้ (ไว้ตามไปหลังคลอดโดยเฉพาะห้องพิเศษตามโรงพยาบาลของรัฐ)
  1. จาน-ชาม-ช้อน-แก้วน้ำ สำหรับคนเฝ้าไข้เวลาทานอาหารจะได้ไม่ลำบากหาภาชนะ
  2. ซอสปรุงรส/น้ำปลา มีไว้สำหรับคนชอบปรุง โดยเฉพาะพวกข้าวต้ม ช่วยให้อร่อยมากขึ้น
  3. กระติกต้มน้ำร้อนหรือกระติกเก็บน้ำร้อน เตรียมไว้สำหรับชงเครื่องดื่ม หรือผสมเป็นน้ำอุ่นเช็ดตัวเจ้าตัวเล็กหลังขับถ่าย
  4. น้ำยาล้างจาน/ฟองน้ำล้างจาน
  5. ทิชชู่
  6. ผ้าห่มหรือผ้านวมสำหรับคนเฝ้าไว้ปูนอน  จะได้นอนสบายหน่อย
  7. หนังสืออ่านเล่น มีเวลาว่างเยอะถ้าน้องไม่ร้องไห้งอแง

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รายการของใช้ของทารกช่วง 0-3 เดือน


หมวดเสื้อผ้า
  1. ผ้าอ้อมควรเลือกซื้อที่ขนาดใหญ่  30x30 นิ้ว เพื่อใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ทั้งห่อตัว, นุ่งแทนกางเกง แนะนำให้ซื้อที่เนื้อดีหน่อย จะเป็นเนื้อผ้าสำลีหรือผ้าสาลูก็ได้ เตรียมไว้สัก 1-3 โหล สำหรับคนที่ไม่อยากใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปก็ 3-4 โหล
  2. เสื้อผูกหลังหรือเสื้อป้ายผูกหน้า 4 - 6 ตัว (เสื้อผูกหลัง สำหรับคนอยากให้ลูกหัวสวยๆ ต้องนอนคว่ำ/เสื้อป้ายผูกหน้า เด็กนอนหงาย)
  3. กางเกงขาสั้น 4-6 ตัว (เด็ก 2-3 เดือนค่อยเริ่มใส่ก็ได้ เดือนแรกจะไม่ค่อยดิ้นมากใช้ผ้าอ้อมห่อขาจะได้ไม่โก้ง)
  4. เสื้อป้ายแขนยาวและกางเกงขายาว หรือ บอดี้สูท 3-6 ชุด ใส่นอนนอน กลางคืนใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องลูกฉี่
  5. ถุงมือและถุงเท้า อย่างละ 4-6 คู่ ป้องกันน้องเอาเล็บข่วนหน้า
  6. หมวกเด็กอ่อน 2-3 ใบ ไว้สลับใช้เวลาออกไปเดินเล่น หรืออากาศเย็น
  7. เสื้อผ้าไปเที่ยว ไม่จำเป็นต้องเตรียมมาก 1-2 ชุด เพราะเด็กยังเล็กมากไม่ควรออกไปท่องโลกกว้าง ยกเว้นไปหาหมอ
  8. ผ้าห่อตัวเด็กแรกเกิด 1 ผืน อันนี้ใช้วันออกจากโรงพยาบาล หรือไปหาหมอ แนะนำซื้อเป็นผ้าขนหนูผืนใหญ่ๆ จะดีกว่าเพราะใช้ประโยชน์ได้มากกว่า อีกอย่าง ตอนออกโรงพยาบาลคุณพยาบาลจะเป็นคนห่อตัวให้น้องซึ่งห่อได้สวยไม่หลุดลุ่ย
  9. ผ้ากันเปื้อน ไม่ต้องเตรียมจะใช้เมื่อน้องเริ่มทานอาหารเสริม หรือใช้ผ้าอ้อมผูกแทนก็ได้
  10. กางเกงผ้าอ้อมแบบซักได้ ใช้ก็ดีประหยัดกว่าแบบใช้แล้วทิ้งเตรียมไว้สัก 4-6 ตัว
  11. ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ซื้อแบบ new born ไม่ต้องมากดูที่ราคา ห่อเล็กลดราคาจะถูกกว่าห่อใหญ่ เมื่อหารเฉลี่ยต่อชิ้น
  12. ผ้าขนหนูผืนใหญ่สำหรับเช็ดตัวหลังอาบน้ำ 1-4 ผืน
  13. ผ้าขนหนูเช็ดตัวศีรษะ 2-3 ผืน อาจไม่จำเป็นใช้ฝืนใหญ่ฝืนเดียวก็ได้

หมวดการทำความสะอาด
  1. กะละมังอาบน้ำ ซื้อให้ให้ใหญ่ไว้ก่อนเพราะต้องใช้ไปจน จะพังกันไป (เด็กยิ่งโตยิ่งชอบเล่นน้ำ)
  2. ที่บอกอุณหภูมิน้ำ ไม่จำเป็นใช้หลังมือวัดแทนได้
  3. เก้าอี้สำหรับอาบน้ำ จำเป็นสำหรับมือใหม่ที่กลัวจะทำน้องหลุดมือ
  4. สบู่เหลวและแชมพู แบบขวดปั๊มสะดวกกว่า หรือซื้อแบบที่ใช้อาบน้ำและสระผมในขวดเดียวก็ได้
  5. ฟองน้ำสำหรับอาบน้ำ 1 ชิ้น เลือกที่ใหญ่หน่อย ใช้จุ่มน้ำแล้วบีบมาแตะตัวน้องก่อนลงน้ำ หรือสระผม
  6. หมวกกันแชมพู ไม่จำเป็น ถ้าเด็กโตที่นั่งเองได้อาจจะใช้ แต่ให้เขานอนบนตักแล้วสระให้ก็สะดวกกว่า
  7. โลชั่นหรือออยส์
  8. แป้งเด็ก ยี่ห้อยอดนิยมทั่วไป หรือแป้งเด็กสำหรับทารกแรกเกิด (ไม่ควรใช้ครั้งละมากๆ เดี๋ยวผิวแห้งลอกเป็นขุ่ย)
  9. สำลีก้านเล็ก สำหรับเช็ดรูหู
  10. สำลีผ่านการฆ่าเชื้อ สำหรับเช็ดตา และสะดือ ควรซื้อยี่ห้อที่ไม่มีสารเรืองแสง
  11. สำลีก้อนหรือแบบม้วนใหญ่นำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลื่ยม (1ห่อใหญ่) จุ้มน้ำอุ่นพอหมาดๆ สำหรับเช็ดก้นและอวัยวะเพศ เมื่อน้องขับถ่าย ใช้แทนกระดาษเช็ดก้น ซึ่งราคาแพง
  12. กระดาษเช็ดก้นเด็กแบบห่อหรือแบบกระป๋องก็ได้ 1 ห่อ ไม่ควรซื้อเยอะใช้เฉพาะเวลาออกนอกบ้านควรมีไว้
  13. กะละมังซักผ้าอ้อม ขนาดกลาง-ใหญ่ 2 ใบ แล้วแต่ความกว้างของลานซักผ้า
  14. กะละมังซักผ้าอ้อม เล็ก 1 ใบ ซักน้ำยาซักผ้า
  15. ถังขนาดกลางๆ 1 ใบ (3-5ลิตร) สำหรับแช่ผ้ารอยฉี่และผ้าเปื้อนอุจจาระน้อง (ควรล้างให้หมดก็แช่) ผ้าจะซักง่ายกว่าทิ้งให้แห้ง
  16. น้ำยาซักผ้าเด็ก ถ้ามีลดราคา ซื้อ 1 แถม 1 ให้ซื้อตุนไว้เลย
  17. น้ำยาปรับผ้านุ่มเด็ก
  18. น้ำยาล้างขวดนม
  19. แปรงล้างขวดนมและจุกนม แนะนำแบบเป็นไนล่อน ขนแปรงนุ่มไม่ทำให้ขวดเป็นรอยและทนกว่าแบบฟองน้ำ
  20. แปรงล้างไส้หลอด อันนี้เอาไว้ล้างพวกที่ดูดน้ำมูกน้อง
  21. ที่นึ่งขวดนม ถ้ามีงบก็ที่นึ่งขวดนมแบบอบแห้ง/ตระกร้าผึ่งขวดนม
  22. ราวตากผ้าอ้อม/ ห่วงมีไม้หนีบสำหรับตากผ้าอ้อม
  23. ถังขยะวางใกล้ที่นอน ควรซื้อแบบมีฝาปิดกันกลิ่น
  24. เบาะรองเปลี่ยนผ้าอ้อม อันนี้ใช้ผ้ายางปูแทนได้
  25. ผ้าก๊อซ ไว้ชุบน้ำอุ่นเช็ดปาก เช็ดเหงือก ใช้มุมผ้าอ้อมเช็ดแทนได้
  26. กระติกเก็บน้ำร้อน สำหรับผสมน้ำอุ่น เช็ดฟัน ตา หรือก้นน้อง ควรซื้อแบบอย่างดี ขนาด 1 ลิตรใบละ 200-300 บาท เก็บความร้อนได้นาน 6-8 ชม.
  27. กระปุกใส่สำลี และของกระจุกกระจิก
  28. ตระกร้าหหรือกล่องแบบแบบแบ่งเป็นช่องๆ ใส่ของ เช่น ที่ตัดเล็บ,สำสี, แซมบัค, มหาหิงค์ ของใช้ชิ้นเล็กๆ

หมวดที่นอน
  1. เตียงนอน อาจไม่จำเป็นถ้าลูกนอนบนฟูกเดียวกับคุณแม่ทำให้เวลานอนให้นมจะสะดวกกว่า ไม่ต้องลุกไปอุ้ม จะได้พักผ่อนเยอะๆ
  2. ฟูกนอน 2-3 ผืน ซักเมื่อเปื้อนหรือ 2-3 วันครั้ง
  3. เบาะนอน ถ้าซื้อเลือกแบบไม่นิ่มเกินไป น้องไม่จมบนฟูก
  4. ผ้าปูที่นอน ถ้าซื้อเบาะ
  5. ผ้าห่ม อาจใช้ผ้าห่อตัวหรือถุงนอนแทนได้
  6. ผ้ายางสักหลาดหรือผ้ายางรองฉี่ อันนี้เตรียมไว้มากหน่อยประมาณ 3-4 ผืน แนะนำให้ซื้อผืนใหญ่หน่อยเพราะน้องจะดิ้นแล้วทำให้เปื้อนได้ซื้อรุ่นแบบซักเครื่องได้ยิ่งดี
  7. เพล์ยิมหรือโมบาย แล้วแต่งบ ช่วงเดือนแรกน้องจะตื่นนอนหลับตลอด งบน้อยก็ใช้โมบายปลาตะเพียนได้
  8. มุ้งครอบ ควรมีหลังที่มีขนาดกลางๆ ไม่เล็กเกินไปจะได้ใช้ได้นานๆ
  9. เปลโยก/หรือใช้ผ้าผูกทำเปลไกวก็ได้
  10. หมอนหนุน
  11. หมอนข้าง เอาไว้กั้นตัวเด็กเวลานอนได้
  12. หมอนหลุมไม่จำเป็น
  13. หมอนปรับถ้านอน ช่วยให้น้องอยู่ในท่านอนตะแคง ศรีษะสวย 
  14. แผ่นรองคลาน ยังไม่ต้องซื้อ 
  15. เป้อุ้มเด็ก ไม่จำเป็น
  16. รถเข็นเด็ก แล้วแต่งบ
  17. คาร์ซีท อันนี้ของจำเป็นสำหรับคนมีรถยนต์ 


หมวดอุปกรณ์รับประทานอาหารและการให้นม
  1. ที่ปั๊มนม ควรซื้อยีห้อดีๆ ที่เลียนแบบการดูดนมของเจ้าตัวเล็ก ไม่ควรซื้อยี่ห้อที่ทำขวดนมจุกนมขายเพราะจะเสียเงินเปล่าเพราะมักทำให้ปั๊มนมไม่ออก จะได้ซื้อขวดนมจุกนมของบริษัท เลือกปั๊มแบบไหนดี แบบปั๊มมือสำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกอยู่บ้านแบบปั๊มไฟฟ้าสำหรับคุณแม่ทำงานนอกบ้าน
  2. แผ่นซับน้ำนม แนะนำแบบใช้แล้วทิ้ง เชื้อโรคจะได้ไม่หมักหมม ดีต่อสุขภาพ 
  3. ถุงเก็บน้ำนม ซื้อแบบซิปล๊อค ใช้สะดวก
  4. ปากกาเขียน CD เอาไว้เขียนถุงเก็บน้ำนม
  5. ขวดนม แบบสี่ออนซ์ 4 ขวด แปดออนซ์ 4 ขวด ถ้าแม่เลี้ยงลูกอยู่บ้านไม่จำเป็นต้องซื้อ
  6. ชุดป้อนยา แนะนำแบบที่เป็นจุกเหมือนขวดนม หรือใช้หลอดฉีดยาก็ได้
  7. กล่องโฟมใส่ขวดนม ไม่จำเป็น
  8. ชามบดอาหารแบบมือ ยังไม่ต้องซื้อ
  9. เครื่องบดอาหารแบบมือยังไม่ต้องซื้อ
  10. ที่แบ่งนม 3 ช่อง ไม่จำเป็น ถ้าใช้นมผงและเดินทางบ่อยซื้อไว้ก็ได้
  11. หมอนรองให้นม แล้วแต่งบ
  12. กระเป๋าเก็บอุณหภูมิ สำหรับปั๊มน้ำนมเก็บเมื่ออยู่นอกบ้าน แนะนำของร้านไดโซะ 60 บาท
  13. ครีมทาหัวนมแตก 

  • medela มีส่วนผสมของลาโนลิน 100 % ทาแล้วน้องสามารถดูดนมต่อได้เลย ไม่เป็นอันตรายกับเด็ก
  • บีแพนเทน ราคา 125 บาท ตัวนี้ทาผื่นผ้าอ้อมได้ด้วย แม่หลายๆคนว่าใช้ดี
  • *แต่ยารักษาหัวนมแตกที่ดีที่สุดคือน้ำนมแม่ เอาน้ำนมแม่ทาแล้วผึ่งให้แห้งค่อยใส่เสื้อใน


หมวดเบ็ดเตล็ด
  1. กรรไกรตัดเล็บ
  2. ที่ดูดน้ำมูก แบบเป็นลูกยาง/แบบเป็นสายดูด (ดูดได้สะอาดกว่า)
  3. ตะกร้าใส่ของ/เสื้อผ้าลูก วางข้างเตียงหยิบจับสะดวก
  4. กระเป๋าใส่ของใช้เด็ก เวลาไปหาหมอหรือออกนอกบ้าน
  5. ปรอทวัดไข้ แนะนำแบบดิจิตอลที่เป็นอินฟาเรดวัดไข้ทางหู หรือแบบแถบแปะหน้าฝาก
  6. เจลแปะลดไข้ ไม่แนะนำ ควรใช้วิธีเช็ดตัวลดไข้เพราะ เจลแปะลดใข้เป็อันตรายต่อทารก เภสัชกรที่ไปซื้อไปยอมขายบอกเด็กเล็กมากไม่ควรใช้ 
  7. มหาหิงส์
  8. ไกรป์วอเตอร์หรือ Air-x กันน้องท้องอืด
  9. วาสลีน
  10. ครีมทากันยุง มียี่ห้อ Chicco ของเด็กแรกเกิด 
  11. ขี้ผึ้งแซมบัค ทาแผลยุงกัดหรือฟกช้ำ ซื้อขนาดใหญ่สุดเพราะใช้จนโต
  12. ตู้เสื้อผ้าลูก ไม่จำเป็น
  13. ที่กันกะแทกมุมโต๊ะ ยังไม่จำเป็น
  14. ที่กั้นประตู ยังไม่จำเป็น
  15. ที่กันพัดลม ยังไม่จำเป็น

หมวดของใช้สำหรับคุณแม่
  1. เสื้อชั้นในให้นม อันนี้เตรียมไว้ซัก 4 ตัวก็พอ แล้วแต่ว่าจะใช้หรือไม่
  2. ผ้าคลุมปิดบังเวลาให้นม ไม่จำเป็น 
  3. ผ้าอนามัยแบบห่วง แนะนำยี่ห้อซอฟทิน่า หรือซื้อจาก รพ.ก็ได้ไม่ต้องไปหาซื้อ
  4. ผ้าอนามัยแถบกาว
  5. กระเป๋าน้ำร้อนแบบเติมน้ำร้อนหรือแบบไฟฟ้า ใช้ประคบเต้านมท้องและหลังคลายอาการเจ็บได้
  6. ผ้าถุง 2-3 ผืน ใส่สบายกว่ากางเกง สำหรับคนนุ่งไม่เก่งก็ใช้แบบเย็บยางยืด